วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

งานแกะสลักเทียนพรรษา

   การแกะสลักเทียนพรรษา

 เทียนพรรษา
          คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)  การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียน   นำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า   ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา  

  
แหล่งที่มา:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/entertainment_api/2880380

ต้นเทียน        
           ต้นเทียนมี 2 ประเภท คือ  ต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ 

การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก        

            ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา  แสงงาม      ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 โดยใช้ปูนปลาสเตอร์ และกากมะพร้าวมาปั้นขึ้นบนแกนกลาง ที่ข้างในเป็นแกนเหล็ก จากนั้นก็จะเอากรอบสังกะสีมาครอบ แล้วเทเทียนที่ต้มเสร็จแล้วลงไป ทิ้งไว้ 1 วัน ต้นเทียนจะเริ่มแห้ง ลักษณะเรียบๆ พร้อมที่จะนำไปแกะสลัก

แหล่งที่มา:http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php

ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
           ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี
            ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ 
        1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่าง ๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น 
        2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น 
        3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น



แหล่งที่มา:http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน       
       1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว และโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว
       2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง
       3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน
      4. แปรงทาสีชนิดดี




อุปกรณ์เสริมในการแกะสลักต้นเทียน

 คือ    1.เกียง  ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนด้ามมีดเล็กๆ ที่ใช้ในการแกะสลักลวดลายต่างๆ

          2. สปอตไลท์ เพื่อช่วยให้ต้นเทียนอ่อนตัว และแกะสลักได้ง่ายขึ้น 



ปล.อ้างอิงhttp://guideubon.com/news/view.php?t=27&s_id=4&d_id=4
              http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php





  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น