งานแกะสลัก
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
งานแกะสลักหิน
☺การแกะสลักหิน☺
ชนิดของหินที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นรูปทรงต่างๆ สำหรับในประเทศไทย
ที่เรามักพบเห็นกันจะมีอยู่สามชนิด ได้แก่
1. หินแกรนิต นิยมนำมาใช้แกะสลักงานที่ีต้องการความคงทนสูง
เนื่องจากเป็นหินอัคนีเกิดจากการหลอมละลายแล้วเย็นตัวลง เกิดการตกผลึกของแร่ธาตุหลายชนิดรวมกันอยู่ในเนื้อหิน ทำให้เนื้อ
หินมีความแข็ง ความเหนียว สี และลวดลายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่
กับแร่ธาตุที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แต่โดยรวมแล้วหินแกรนิตส่วนใหญ่
จะมีคุณสมบัติที่แกร่ง ทนต่อสภาพอากาศ ความชื้นและกรดต่างๆ
ได้ดี เมื่อนำมาใช้ในงานแกะสลักจะได้งานที่มีความทนทานสูง
แต่ก็ต้องใช้ความชำนาญและความแข็งแรงของช่างสูงเช่นกัน
2. หินทราย สามารถนำมาใช้แกะสลักได้หลากหลายรูปแบบและได้ทุกขนาดตามความต้องการ เนื้อหินทรายมีลักษณะละเอียดและมีความเหนียว สามารถแกะสลักลวดลายขนาดเล็กหรือลวดลายที่มีความละเอียดซับซ้อนได้ดี แต่เนื้อหินทรายไม่แน่นเท่าหินแกรนิต
เพราะหินทรายเป็นหินตะกอนเกิดจากการสะสมของเม็ดทรายเล็กๆ
และแร่ธาตุอื่นๆ โดยมีความชื้นและความร้อนจากใต้เปลือกโลก
เร่งปฏิกิริยาทางเคมีให้เม็ดทรายยึดติดกัน แร่ธาตุที่มีอยู่ในแต่ละ
พื้นที่จะทำให้หินทรายมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น สี
ลวดลายเนื้อหิน ความเหนียว ความเปราะ ความแน่นของเนื้อหิน
และลักษณะการตกตะกอนก็กำหนดคุณสมบัติของเนื้อหินเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น หินทรายสีแดงอมม่วงมีลักษณะของการตกตะกอน
ที่เป็นชั้นๆ เหมือนกับขนมชั้นที่เราสามารถทำให้แยกออกจากกัน
เป็นแผ่นๆ ได้ง่ายเราจึงไม่นำมาใช้แกะสลัก แต่จะถูกนำไปใช้ใน
ลักษณะที่เป็นแผ่นหินสำหรับงานตกแต่งสวนและอาคารแทน
ด้วยลักษณะคุณสมบัติของเนื้อหินทรายทำให้มีความแกร่งน้อยกว่า
และจะกร่อนเร็วกว่าหินแกรนิต สามารถดูดความชื้นได้มากกว่า้
ทำให้เกิดเชื้อราและตะไคร่จับชิ้นงานได้ง่าย
แหล่งที่มา:http://buddhacenter.blogspot.com/2013/01/blog-post_9716.html
3. หินอ่อน เนื้อหินอ่อนของประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะที่ค่อนข้างไม่เหมาะสมที่จะนำมาแกะสลักเหมือนกับหินอ่อนที่อิตาลีหรือที่เวียดนาม เนื่องจากมีความเปราะมากกว่าและมีรอยร้าวมาก ถ้าจะนำมาแกะสลักต้องเลือกหินอย่างพิถีพิถัน ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ
มีความคมสูง และต้องใช้ทักษะเฉพาะทางทำให้งานมีราคาสูง
จึงพบเห็นงานหินอ่อนแกะสลักได้น้อยมาก ที่นิยมกันส่วนใหญ่
จะเป็นหยกขาวจากพม่าที่มีเนื้อเหนียวและละเอียดกว่า ประกอบ
กับคุณสมบัติของหินอ่อนที่มีความทนทานต่ำต่อสภาพอากาศของ
บ้านเราจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กับงานกลางแจ้งมากนัก ส่วนมากจะใช้
กับงานตกแต่งภายใน เช่น ปูพื้น/ผนัง คิ้ว บัว วงกบ หรือลูกแก้ว
ระเบียง เป็นต้น
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%81%E0%B8%81%E0
หินชนิดต่างๆ มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและสถานที่ตั้งของชิ้นงาน
วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
งานแกะสลักน้ำแข็ง
☺การแกะสลักน้ำแข็ง☺
เป็นศิลปะที่แพร่หลายไปมากโดยเฉพาะในเมืองที่มีน้ำเป็น
มากมาย หรือแม้กระทั้งเมืองร้อยที่ไม่มีหิมะเองก็ตาม แต่นั้นไม่ใช่สิ่ง
ที่ แตกต่างกันมากมายแสดงมุ่งการสร้างสรรค์ และสวยงามมั่นศิลปิน
บางอย่างอาจระสร้างสรรค์ด้วยสีน้ำมัน หรือสีน้ำตามแต่ความต้องการ
ของตัวศิลปิน ศิลปินบางคนอาจร่าง ด้วยดินสอหรือถ่านที่ศิลปินบาง
สลักโดยใช้ดินเหนียวบรอนซ์ หรือวัสดุอื่นที่ศิลปินใช้วัสดุที่หลาก
หลายทำให้หลาย ๆ น้ำแข็งก็สามารถที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ในการสร้าง
งานศิลปะได้ โดยศิลปินที่ใช้น้ำแข็งมาแกะสลักนั้น จะต้องเรียนรู้มาก
มายเกี่ยวกับการสร้างน้ำแข็งให้ออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ และการ
สร้างงานศิลปะบางที่ไม่ซ้ำกันเนื่องจากการเครื่องมือที่ใช้ในการแกะ
สลักน้ำแข็งที่ไม่มีจำเพาะเจาะจงสำหรับศิลปะแขนงนี้ และยัง
สามารถเป็นอันตรายได้ความปลอดภัยที่เหมาะสมควรดำเนิน
มาตรการป้องกันเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีใครเป็นตัวป้องกันหู ถุงมือเจ็บ
และ ควรเสียแล้วเมื่อมีการแกะสลักน้ำแข็ง น้ำแข็งส่วนใหญ่ที่จะใช้
ใน งานแกะสลักน้ำแข็งนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็น บล็อกขนาดใหญ่ของ
น้ำแข็งที่สามารถชั่งน้ำหนัก ถึง 300 ปอนด์ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปปั้น
แกะสลักศิลปินอาจต้องมีน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำ วิธีแช่เย็นน้ำอาจมีผลต่อ
การ ของน้ำแข็งสำหรับการแกะสลักน้ำแข็งที่ สีคุณสามารถเพิ่มการ
ศิลปินที่ทำงานกับ ๆ ชนิดของภาพที่ไม่ซ้ำกันที่บางคน จากนั้นก็ได้
เวลาเริ่มการแกะสลักน้ำแข็ง โดยที่ศิลปินจะออกแบว่าต้องการที่จะ
แกะสลักน้ำแข็งเป็นรูปหรือศิลปะชนิดใดไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นการ
ทำงานที่ต้องอาศัยความชำนาญและความรวดเร็วในการทำงานอีก
ด้วย แม้ว่าศิลปะการแกะสลัดน้ำแข็งนั้นจะ โดยส่วนใหญ่จะทำใน
พื้นที่ ที่ควบคุมอุณหภูมิก็ตาม ศิลปะการแกะสลักน้ำแข็งนับว่าเป็น
งานศิลปะที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง
มากมาย หรือแม้กระทั้งเมืองร้อยที่ไม่มีหิมะเองก็ตาม แต่นั้นไม่ใช่สิ่ง
ที่ แตกต่างกันมากมายแสดงมุ่งการสร้างสรรค์ และสวยงามมั่นศิลปิน
บางอย่างอาจระสร้างสรรค์ด้วยสีน้ำมัน หรือสีน้ำตามแต่ความต้องการ
ของตัวศิลปิน ศิลปินบางคนอาจร่าง ด้วยดินสอหรือถ่านที่ศิลปินบาง
สลักโดยใช้ดินเหนียวบรอนซ์ หรือวัสดุอื่นที่ศิลปินใช้วัสดุที่หลาก
หลายทำให้หลาย ๆ น้ำแข็งก็สามารถที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ในการสร้าง
งานศิลปะได้ โดยศิลปินที่ใช้น้ำแข็งมาแกะสลักนั้น จะต้องเรียนรู้มาก
มายเกี่ยวกับการสร้างน้ำแข็งให้ออกมาเป็นผลงานทางศิลปะ และการ
สร้างงานศิลปะบางที่ไม่ซ้ำกันเนื่องจากการเครื่องมือที่ใช้ในการแกะ
สลักน้ำแข็งที่ไม่มีจำเพาะเจาะจงสำหรับศิลปะแขนงนี้ และยัง
สามารถเป็นอันตรายได้ความปลอดภัยที่เหมาะสมควรดำเนิน
มาตรการป้องกันเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีใครเป็นตัวป้องกันหู ถุงมือเจ็บ
และ ควรเสียแล้วเมื่อมีการแกะสลักน้ำแข็ง น้ำแข็งส่วนใหญ่ที่จะใช้
ใน งานแกะสลักน้ำแข็งนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็น บล็อกขนาดใหญ่ของ
น้ำแข็งที่สามารถชั่งน้ำหนัก ถึง 300 ปอนด์ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปปั้น
แกะสลักศิลปินอาจต้องมีน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำ วิธีแช่เย็นน้ำอาจมีผลต่อ
การ ของน้ำแข็งสำหรับการแกะสลักน้ำแข็งที่ สีคุณสามารถเพิ่มการ
ศิลปินที่ทำงานกับ ๆ ชนิดของภาพที่ไม่ซ้ำกันที่บางคน จากนั้นก็ได้
เวลาเริ่มการแกะสลักน้ำแข็ง โดยที่ศิลปินจะออกแบว่าต้องการที่จะ
แกะสลักน้ำแข็งเป็นรูปหรือศิลปะชนิดใดไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นการ
ทำงานที่ต้องอาศัยความชำนาญและความรวดเร็วในการทำงานอีก
ด้วย แม้ว่าศิลปะการแกะสลัดน้ำแข็งนั้นจะ โดยส่วนใหญ่จะทำใน
พื้นที่ ที่ควบคุมอุณหภูมิก็ตาม ศิลปะการแกะสลักน้ำแข็งนับว่าเป็น
งานศิลปะที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง
แหล่งที่มา:http://www.dailynews.co.th/
แหล่งที่มา:http://news.mthai.com/general-news/300127.html
งานแกะสลักเทียนพรรษา
☺การแกะสลักเทียนพรรษา☺
☺ เทียนพรรษา☺
คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียน นำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
แหล่งที่มา:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/entertainment_api/2880380
☺ต้นเทียน☺
ต้นเทียนมี 2 ประเภท คือ ต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์
ต้นเทียนมี 2 ประเภท คือ ต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์
☺การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก☺
ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 โดยใช้ปูนปลาสเตอร์ และกากมะพร้าวมาปั้นขึ้นบนแกนกลาง ที่ข้างในเป็นแกนเหล็ก จากนั้นก็จะเอากรอบสังกะสีมาครอบ แล้วเทเทียนที่ต้มเสร็จแล้วลงไป ทิ้งไว้ 1 วัน ต้นเทียนจะเริ่มแห้ง ลักษณะเรียบๆ พร้อมที่จะนำไปแกะสลัก
แหล่งที่มา:http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php
☺ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ☺
ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี
ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ
1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่าง ๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น
2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น
3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น
1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่าง ๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น
2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น
3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา:http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php
☺เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน☺
1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว และโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว
2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง
3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน
4. แปรงทาสีชนิดดี
1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว และโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว
2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง
3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน
4. แปรงทาสีชนิดดี
☺อุปกรณ์เสริมในการแกะสลักต้นเทียน☺
คือ 1.เกียง ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนด้ามมีดเล็กๆ ที่ใช้ในการแกะสลักลวดลายต่างๆ
2. สปอตไลท์ เพื่อช่วยให้ต้นเทียนอ่อนตัว และแกะสลักได้ง่ายขึ้น
ปล.อ้างอิงhttp://guideubon.com/news/view.php?t=27&s_id=4&d_id=4
http://www.lib.ubu.ac.th/learning/candle/pattern.php
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
งานแกะสลักผลไม้
☺การแกะสลักผลไม้☺
☺ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้☺
งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลาย
แขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
แขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือเป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา
ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย
ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง
สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี
แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์
นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง
เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี
เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมี
ฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า
กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้
และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก
ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด
เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง
งานแกะสลักใช้กับของอ่อน
สลักออกมาเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้
สลักหยวกกล้วยถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึงอยู่ในงานช่าง
10 หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลักแบ่งออกย่อย
คือ ช่างฉลุ ช่างกระดาษ ช่างหยวก ช่างเครื่องสด ส่วนช่างอีก 9 หมู่ที่เหลือได้แก่ ช่างแกะ ที่มีทั้งช่างแกะตรา ช่างแกะลาย
ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มีช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น
มีช่างขี้ผึ้ง ช่างปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูนก่อ ช่างปูนลอย
ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างบุ
บุบาตรพระเพียงอย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง
ช่างผสมโลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง
การสลักหรือจำหลัก
จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจำพวกประติมากรรม
เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่างผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง
หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น
โดยใช้เครื่องมือที่มีความแหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน
ทำให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะสัมพันธ์ของมือและสมอง
เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ
แหล่งที่มา:http://pantip.com/topic/30783620
☺หลักการแกะสลักผักและผลไม้☺
1. การเลือกซื้อผักและผลไม้ ควรเลือกชนิดที่มีความสดใหม่
เพื่อจะช่วยให้ผลงานที่แกะสลัก มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
เพื่อจะช่วยให้ผลงานที่แกะสลัก มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
2. ก่อนนำผักและผลไม้ไปแกะสลัก ควรล้างน้ำให้สะอาด
3. การเลือกมีดแกะสลัก ควรเป็นมีดสแตนเลส หรือมีดทอง
เหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำและไม่
ดำ
เหลือง ซึ่งมีดต้องคมมาก เพราะจะทำให้ผักและผลไม้ไม่ช้ำและไม่
ดำ
4. การเลือกชนิดของผักและผลไม้แกะสลัก ควรเลือกให้
เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
เหมาะกับประโยชน์การนำไปใช้
5. การเลือกรูปแบบหรือลวดลายที่จะแกะควรเลือกให้เหมาะ
กับการนำไปใช้ประโยชน์
กับการนำไปใช้ประโยชน์
6. การเลือกผัก ผลไม้ตกแต่งอาหารควรเลือกชนิดที่มีสี
สวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
สวยงาม หลากหลาย เพื่อจะทำให้อาหารน่ารับประทานขึ้น
7. การแกะสลักต้องพยายามรักษาคุณค่าอาหาร โดยไม่ควร
แช่น้ำนานเกินไป
แช่น้ำนานเกินไป
งานแกะสลักไม้
☺การแกะสลักไม้☺
☺งานแกะสลักไม้☺
ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทยนั้นแต่เดิมส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนาทั้งสิ้นได้แก่งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งมีการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและปราณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัย ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยมีช่างแกะสลักที่มีฝีมือได้สร้าง สรรค์ผลงานขึ้น มาเป็นจำนวนมาก ช่างแกะสลักไม้ สามารถสืบทอด ศิลป วัฒนธรรม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละชุมชนลงบนแผ่นไม้ อาทิ เช่น ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า ควรแก่การภาคภูมิใจสำหรับชาวล้านนาเอง งานแกะสลักไม้ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี การทำมาหากิน ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ทุ่งนา ป่าไม้ ซึ่งจะพบเห็นกันได้ทั่วไปในปัจจุบันในสถานที่สำคัญทางศาสนา บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตลอดจน การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ช่างไทยสิบหมู่ เป็นวัฒนธรรมทางด้าน ศิลปะแขนงหนึ่งในกระบวนช่างไทยได้จำแนกแยกแยะงานช่างได้มากมาย
☺ประเภทการแกะสลักไม้☺
1.การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น
2.การแกะสลักภาพนูนต่ำ เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น
3.การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนต่ำ
☺ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้☺
1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง
2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้
3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับ
ื 4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรหน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ
การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด
ข้อสังเกตในการปาดแรตัวลาย เวลาปาด หรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตาม ทางของเนื้อไม้ คือไม่ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย การปาดแต่งแรลาย คือการตั้งสิ่วเพล่เอียงข้างหนึ่ง ฉากข้างหนึ่ง แล้ว ปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการ
☺การปาดลายสามารถทำได้☺
3 วิธี คือ - ปาดแบบช้อนลาย
- ปาดแบบพนมเส้น คือพนมเส้นตรงกลาง
- ปาดแบบลบหลังลาย (ลบเม็ดแตง)
☺เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลัก☺
- ไม้ ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานแกะสลัก ได้แก่ ไม้สัก เป็นไม้ที่ไม่แข็งเกินไป มีลายไม้สวยงาม สามารถแกะลายต่างๆได้ง่าย หดตัวน้อย ทนนานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปลอดภัยจากปลวก มอดและแมลง ไม้ที่นิยมรองลงมาคือ ไม้โมก ไม้สน ที่สำคัญคือ ไม้ที่นำมาทำการแกะสลักจะ ต้องไม่มีตำหนิ เพราะจะทำให้งานชิ้นนั้นขาดความสวยงาม ค้อนไม้ เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน
- ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย
- สิ่ว เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิ่วเล็บมือ สิ่วทำ จากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
- มีด เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง
- เลื่อย ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน
- บุ้งหรือตะไบ ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว
- กระดาษทราย ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว
- กบไสไม้ ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง
- สว่าน ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้
- แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้
- เครื่องมือประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ
- วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้
ปล.อ้างอิงhttp://research.pbru.ac.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=259&Itemid=187
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)